วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วีดิโอ

ตัวอย่าง วีดิโอการแข่งขันลีลาศ


ประโยชน์ ของลีลาศ

จากสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมปัจจุบัน  ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งจิตแพทย์  นักจิตวิทยา  และนักการศึกษาต่างก็พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็น  เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด  และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง  ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี  จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้  ดังนี้

1.  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี2.  ก่อให้เกิดความสนุกสนาม  เพลิดเพลิน3.  เป็นกิจกรรมนันทนาการ  และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์4.  เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม  ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกันได้5.  ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก  (Motor  Skill)6.  ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
7.  ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม  สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม    ยิ่งขึ้น8.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคม9.  ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม  และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี10. ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง  กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม11. ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม  และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป
12. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์13. เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย     

กฎ กติกาการแข่งขันลีลาศ


กฎ กติกาการแข่งขันลีลาศ

กติกาข้อที่ 1 
องค์กรที่ดำเนินการควบคุมดูแล
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) เป็นองค์กรที่กำกับดูแลการแข่งขันกีฬาลีลาศและนักกีฬาลีลาศ, รวมไปถึงการแข่งขันของสมัครเล่นทุกระดับชั้น, ในแต่ละประเทศตลอดจนถึงประเทศที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และที่เป็นระดับสากล

กติกาข้อที่ 2
การประยุกต์ใช้กติกา
2.1กติกาข้อนี้ให้ประยุกต์ใช้กับการแข่งขันกีฬาลีลาศนานาชาติ ซึ่งจัดโดยองค์กรที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ รวมถึงการแข่งขันประเภท Standard, Latin American, New Vogue, American Style, Rock'n Roll, Old Time, Modern และ Latin Sequence สำหรับกติกาของ Rock'n Roll ให้ใช้กติกาที่กำหนดโดยสมาพันธ์ เวิลด์ ร็อค แอนด์ โรล (World Rock'n Roll Confederation) ซึ่งเป็นสมาชิกร่วมของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
2.2คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับกติกาได้หรือไม่
2.3สำหรับรายการแข่งขันที่เป็นกรณีพิเศษ
2.4ผู้เข้าร่วมในการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะต้องสังกัดในองค์กรที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ

กติกาข้อที่ 3
เงินรางวัล
ในการแข่งขันกีฬาลีลาศของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ เงินรางวัลสามารถที่จะจ่ายให้ได้เท่ากับทางสหพันธ์ฯ จ่ายให้กับการแข่งขันเวิลด์ โอเพ่น (IDSF World Open) แต่ถ้าผู้ที่จัดการแข่งขันกำหนดเงินรางวัลไว้สูงกว่าการแข่งขันเวิล์ด โอเพ่น ของสหพันธ์ฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ก่อน

กติกาข้อที่ 4
การโฆษณา
4.1ในการแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ คู่แข่งขันจะติดป้ายโฆษณาของผู้ให้การสนับสนุนได้ไม่เกิน 2 ราย บนชุดสำหรับแข่งขันและให้มีขนาดไม่เกิน 40 ตารางเซนติเมตร ต่อผู้ให้การสนับสนุน 1 ราย ตำแหน่งที่ติดป้ายจะอยู่ที่บริเวณเอว หน้าอก หรือแขนเสื้อ ป้ายโฆษณาจะติดอยู่ที่ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายก็ได้ หรือฝ่ายหญิง 1 ราย ฝ่ายชาย 1 รายก็ได้
4.2โฆษณาที่จะลงบนหมายเลขประจำตัวของผู้แข่งขันจะต้องมีขนาดไม่เกิน 20% ของขนาดหมายเลขประจำตัวผู้เข้าแข่งขัน

กติกาข้อที่ 5
ระดับของการแข่งขัน
5.1การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Championships)
5.1.1รุ่นผู้ใหญ่(Adult) เยาวชน(Youth) และยุวชน II (Junior II)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนโลกของ IDSF ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะSamba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภทOver Ten Dance ( Standard และ Latin American )
กง) ประเภท Formation ( Standard และ Latin American )
ตามกติกาข้อที่ 14 ข้อที่ 2-13 ให้ใช้กับรุ่นผู้ใหญ่เท่านั้น
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค)จำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์มีสิทธิ์ส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 2 คู่

การแข่งขัน Ten Dance ชิงแชมป์เปี้ยนโลก สมาคมต่าง ๆ สามารถส่งคู่เข้าแข่งขันได้ 1 คู่

การแข่งขัน Formation ชิงแชมป์เปี้ยนโลก แต่ละสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ จะถูกเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันรวม 2 ทีมในแต่ละรายการ
ง)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ ให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.1.2รุ่นอาวุโส (Senior)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกรุ่นอาวุโสของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะ Waltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค)การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ มีสิทธิส่งผู้เข้าแข่งขันได้ 2 คู่
ง)การจ่ายค่าตอบแทน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะรับผิดชอบจ่ายค่าที่พักให้แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 1 คืนแต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนค่าใช้จ่ายของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ตัดสิน ให้เป็นไปตามกฏข้อที่ 8
จ)เกณฑ์อายุของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันรุ่นอาวุโสนานาชาติ อย่างน้อยทั้งคู่จะต้องมีอายุครบ 35 ปีบริบูรณ์ ในปีที่มีการแข่งขัน
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันรุ่นอาวุโสนานาชาติ อย่างน้อยทั้งคู่จะต้องมีอายุครบ 35 ปีบริบูรณ์ ในปีที่มีการแข่งขัน
5.2การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนระดับภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF Continental Championships)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนระดับภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American),
ตามกฏข้อที่ 14, ข้อที่ 2-13
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่มีที่ตั้งตามทวีปต่างๆ ทั้งนี้ในระบบทางการกีฬาให้ถือว่าประเทศอิสราเอลจัดอยู่ในกลุ่มทวีปยุโรป
ค)การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ทุกๆสมาชิกของสหพันธ์ฯ มีสิทธิ์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 2 คู่
การแข่งขัน Ten Dance ชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นทวีปของสหพันธ์ฯ กำหนดให้แต่ละสมาคมส่งคู่เข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 1 คู่ เท่านั้น
การแข่งขันประเภท Formation ชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์ฯ สมาชิกของสหพันธ์ฯ จะถูกเชิญเข้าร่วมการแข่งขันสมาคมละ 2 ทีมในแต่ละรายการ
ง)การจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.3การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นอนุทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF Sub-Continental Championships)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นอนุทวีปยุโรป มีดังนี้
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ อย่างน้อย 4 สมาคม
ค)การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่ได้รับเชิญแต่ละสมาคม มีสิทธิ์ที่จะส่งตัวแทนเข้าร่วมในการแข่งขันสมาคมละ 2 คู่ ผู้จัดการแข่งขันอาจเชิญ 1 คู่ จากประเทศที่เข้าร่วม
ง)การจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.4การแข่งขันสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ(IDSF World Ranking Tournaments)
การแข่งขันสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับโลกมี 4 ประเภทด้วยกัน
ก)การแข่งขันซุปเปอร์เวิลด์คัพของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF Super World Cup)
ข)การแข่งขันเวิลด์โอเพ่นของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Cup)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะจัดการแข่งขันเวิลด์โอเพ่นในประเภท Standard และ Latin Americanโดยจะมีเงินรางวัลและการสะสมคะแนนในการจัดอันดับโลกโดยคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์
ค)การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล โอเพ่นของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF International Open)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะจัดการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลโอเพ่นในประเภท Standard และLatin American โดยมีคะแนนสะสมซึ่งคำนวนโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดอันดับโลกประกอบกับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ง)การแข่งขัน ไอ ดี เอส เอฟ โอเพ่น (IDSF Open)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะจัดการแข่งขัน ไอ ดี เอส เอฟ โอเพ่น (IDSF Open) ในประเภทStandard และLatin American โดยมีคะแนนสะสมซึ่งคำนวณโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการจัดอันดับโลกประกอบกับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
อนึ่ง ในรายละเอียดของระเบียบการแข่งขันที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะแจ้งให้ทราบเป็นครั้งๆ ไป
5.5การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น (International Invitation Competitions)
ก)คำจำกัดความของการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลอินวิเทชั่น
นอกจากการแข่งขันประเภททีมแมช และการแข่งขันประเภทแปรขบวนหมู่ ให้เปรียบเสมือนเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ ซึ่งต้องมีคู่เข้าร่วมแข่งขันอย่างน้อย 4 ประเทศ
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญเฉพาะสมาชิกของสหพันธ์ฯ เข้าร่วมในการแข่งขันเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ค)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนของผู้เข้าร่วมการแข่งขันให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
5.6การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น สำหรับ ฟอร์เมชั่น - ทีม(International Invitation Competitions for Formation - Teams)
ก)คำจำกัดความของการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลอินวิเทชั่นสำหรับฟอร์เมชั่น - ทีม
การแข่งขันนี้อาจใช้ชื่อว่า "การแข่งขันฟอร์เมชั่นนานาชาติ" ถ้ามี ฟอร์เมชั่น - ทีมส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันไม่น้อยกว่า 4 ประเทศ
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญเฉพาะสมาชิกของสหพันธ์ฯ เข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ค)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การชดเชยค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสมาคม ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
5.7การแข่งขันเวิลด์คัพของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Cups)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันเวิลด์คัพส์ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค)การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน:
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติที่ได้รับเชิญสามารถส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันได้เพียง 1 คู่
ง)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทน ให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.8การแข่งขันชิงถ้วยของภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF Continental Cups)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันชิงถ้วยภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American), ทั้งนี้ให้ดูกติกาข้อที่ 14 ข้อย่อยที่ 2 - 13 ประกอบ
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่มีที่ตั้งตามทวีปต่างๆ ทั้งนี้ในระบบทางการกีฬาให้ถือว่าประเทศอิสราเอลจัดอยู่ในกลุ่มทวีปยุโรป
ค)การกำหนดจำนวนคู่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ที่ได้รับเชิญสามารถส่งเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 1 คู่ / 1 ทีม - ฟอร์เมชั่น
ง)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.9การแข่งขันทีมแมชส์นานาชาติ (International Team Matches)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันทีมแมชส์นานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
การแข่งขันทีมแมชส์นานาชาติ เป็นการจัดการแข่งขันที่ตกลงกันเอง ระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ โดยจัดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้ง ในประเทศและระหว่างสมาชิกของสหพันธ์เดียวกัน
ค)การกำหนดจำนวนคู่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ( คำจำกัดความของคำว่า "ทีม" )
ในแต่ละทีมต้องมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 4 คู่ คัดเลือกจากการจัดอันดับคะแนนสะสมของแต่ละประเทศ และต้องไม่มีการเปลี่ยนคู่ในระหว่างที่มีการแข่งขัน
ง)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทน ให้ตกลงกันเองโดยอิสระระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่เกี่ยวข้อง
5.10การแข่งขันประเภทโอเพ่น (Open Competitions)
เป็นการแข่งขันที่เปิดให้เข้าร่วมเฉพาะคู่แข่งขันของสมาคม ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติเท่านั้น คู่แข่งขันที่มาจากประเทศหรือสมาคมใดที่มิได้อยู่ในเครือของสหพันธ์ฯ หากจะเข้าร่วมทำการแข่งขันต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ก่อน
5.11ระยะเวลาที่อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันและอัตราความเร็วของจังหวะดนตรี
ในทุกรอบของการแข่งขัน ระยะเวลาของดนตรีที่ใช้สำหรับจังหวะจังหวะWaltz , Tango , Slow Foxtrot , Quickstep , Samba , Cha Cha Cha , Rumba และ Paso Doble จะต้องมีอย่างน้อย 1 นาทีครึ่ง สำหรับในจังหวะ Viennese Waltz และ Jive จะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 นาที และไม่เกินหนึ่งนาทีครึ่ง, ประธานผู้ตัดสินอาจให้ระยเวลาของดนตรีเพิ่มขึ้นตามความวินิจฉัยของเขา/หล่อน เพื่อความจำเป็นสำหรับการตัดสินที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในจังหวะของการแข่งขันในแต่ละรายการ
อัตราความเร็วของจังหวะดนตรีในแต่ละรูปแบบของการลีลาศมีดังนี้
Waltz:28-30 บาร์ ต่อ นาที
Tango:31-33 บาร์ ต่อ นาที
Viennese Waltz:58-60 บาร์ ต่อ นาที
Slow Foxtrot:28-30 บาร์ ต่อ นาที
Quickstep:50-52 บาร์ ต่อ นาที
Samba:50-52 บาร์ ต่อ นาที
Cha Cha Cha:30-32 บาร์ ต่อ นาที
Rumba:25-27 บาร์ ต่อ นาที
Paso Doble:60-62 บาร์ ต่อ นาที
Jive:42-44 บาร์ ต่อ นาที
ประเภทของดนตรี
ในทุกรายการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ดนตรีที่ใช้จะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวะที่ใช้ในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้ดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทดิสโก้ ในการลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน
5.12กฏระเบียบที่เข้มงวด
1.ในการแข่งขันทุกรายการที่ได้รับการรับรองโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติภายใต้กติกา ข้อที่ 5 มีกฎระเบียบที่เข็มงวดอยู่เพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ระเบียบการแต่งกายของนักลีลาศที่อยู่ในทุกเกณฑ์อายุของรุ่นเด็ก (Juveniles)
กฎระเบียบที่เข้มงวดใดๆ ที่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งขึ้นโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบการที่มีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ เมื่อได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยทั่วถึงให้สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติได้ทราบล่วงหน้า หลังจากที่ประกาศไปแล้ว 12 เดือน
2.กฎระเบียบที่เข็มงวดจะต้องถูกสังเกตเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยหนึ่งคน
ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากชาติของสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และต้องได้รับการยืนยันจากสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
3.ผู้ทรงคุณวุฒิร้องเรียนไปถึงประธานกรรมการ
ในข้อที่ว่ามีการทำผิดกฏระเบียบขึ้นในรอบแรกของการแข่งขัน คู่แข่งขันจะได้รับคำเตือนจากประธานกรรมการ หากมีการทำผิดกฏระเบียบซ้ำขึ้นอีกในรอบถัดไป หรือถึงรอบสุดท้าย คู่แข่งขันจะถูกประธานกรรมการตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน

กติกาข้อที่ 6
สิทธิในการจัดการแข่งขัน
6.1คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีสิทธิอันชอบธรรมในการจัดการแข่งขันตามกติกา ข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-8 และมีสิทธิในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ( ดูกฏระเบียบว่าด้วยการเงิน )
การแข่งขันเหล่านี้ ยกเว้นการแข่งขันที่อยู่ภายใต้กติกาข้อ 5 ข้อย่อยที่ 5 และ 6 จะต้องมีจดหมายเวียนล่วงหน้าไปยังเหล่าสมาชิก ในกรณีที่เป็นพิเศษ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีอำนาจที่จะจัดการแข่งขัน โดยออกคำสั่งโดยตรงให้กับเมืองหรือประเทศที่เป็นสมาชิกฯ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
6.2การจัดการแข่งขันตามกฏกติกาข้อ 5 ย่อหน้าที่ 5 ต้องมีการรับรองจากสหพันธ์กีฬาลีลาศและต้องเสียค่าลงทะเบียน 20,00. CHF ซึ่งองค์กรที่จัดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกขององค์กรด้วย

กติกาข้อที่ 7
การเชิญเข้าร่วมแข่งขัน
การเชิญเข้าร่วมแข่งขัน ในการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น (International Invitation Competitions)จะต้องดำเนินการขึ้นระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิก การเชิญต้องระบุวันที่ ที่ได้ลงในทะเบียนการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ

กติกาข้อที่ 8
การชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
การชดเชยค่าใช้จ่ายขั้นต่ำต่างๆ ให้กับคู่แข่งขัน ประธานและกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันครอบคลุมไปถึง กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 , 7 และ 8 ให้เป็นสิทธิ์ขาดของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ สมาชิกจะต้องระบุจำนวนเงินล่วงหน้า

กติกาข้อที่ 9
การใช้สารต้องห้าม
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีกฎข้อห้ามมิให้มีการใช้สารต้องห้าม ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบการควบคุมห้ามใช้สารต้องห้าม

กติกาข้อที่ 10
วิธีการสำหรับการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่าง ๆ
10.1ประธานกรรมการผู้ตัดสิน ( ที่ไม่ต้องลงคะแนน ) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ เป็นผู้ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแลการแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ ในรายการแข่งขันระดับนานาชาติใดๆ ที่สหพันธ์ฯ ไม่ได้มีการแต่งตั้งประธานผู้ตัดสิน - ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานผู้ตัดสิน ( ที่ไม่ต้องลงคะแนน ) เอาเอง
10.2กรรมการผู้ตัดสิน
ในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a-c และ 7 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภททีมแมช ( Team Matches )
10.3สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
10.4กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5, ข้อย่อยที่ 1-4 a+b , 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ

ลีลาส ในประเทศไทย


ประวัติการลีลาศของประเทศไทย
 ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่า
ชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า คนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตาม บันทึกกล่าวว่า แหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่ นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูก แล้วพระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้ได้สันนิษฐานกันว่า พระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง การเต้นรำ

     ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่มีแต่เจ้านายและขุนนาชั้นผู้ใหญ่ที่เต้นรำกันพอเป็น
โดยเฉพาะเจ้านายที่ว่าการต่างประเทศได้มีการเชิญฑูตานุฑูต และแขกชาวต่างประเทศมาชุมนุมเต้น รำกันที่บ้าน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนมพรรษาหรือเนื่องในวันบรมราชาภิเษก เป็นต้น จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นศาลาว่าการกระทรวงการต่างประเทศ งานเต้นรำที่เคยจัดกันมาทุกปีก็ได้ย้ายมาจัดกันที่วังสราญรมย์
      ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกปีที่มีงามเฉลิมพระชนมพรรษานิยมจัดให้มีการเต้นรำขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งมีเจ้านายและบรรดาฑูตานุฑูตทั้งหลายเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่จะเข้าร่วมงานได้ต้องได้รับบัตรเชิญเท่านั้น จึงสามารถเข้าร่วมงานได้

    ในสมัยรัชกาลที่ 7 การลีลาศได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีสถานที่ลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่ง
เช่น ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น คาเธ่ย์ และ โลลิต้า เป็นต้น
      ในปี พ.ศ.2475 นายหยิบ ณ นคร ได้ร่วมกับหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วราวรรณ จัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น แต่ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่ประการใด โดยใช้ชื่อว่าสมาคมสมัครเล่นเต้นรำ มีหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นนายกสมาคม นายหยิบ ณ นคร
เป็นเลขาธิการสมาคม สำหรับกรรมการสมาคมส่วนใหญ่ก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่ หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิต หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล และ นายแพทย์เติม บุนนาค สมาชิกของสมาคมส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มักพาลูกของตนมาเต้นรำด้วย ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการจัดงานเต้นรำชึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์และวังสราญรมย์ สำหรับวังสราญรมย์นี้เป็นสถานที่ที่จัดให้มีการแข่งขันเต้นรำขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปียนคู่แรกคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และประนอม สุขุม
 
     ในช่วงปี พ.ศ.2475-2476 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเรียกสมาคมสมัครเล่นเต้นรำว่าสมาคม... (คำผวนของคำว่าเต้นรำ) ซึ่งฟังแล้วไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศ ขึ้นแทนคำว่า เต้นรำ ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไป แต่ยังคงมีการชุมนุมกันของครูลีลาศอยู่เสมอ โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงาน
       การลีลาศได้ซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งสงครามสงบลงในเดือน
กันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นใหม่ มีโรงเรียนสอนลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่งโดยเฉพาะสาขาบอลรูมสมัยใหม่ ( Modern Ballroom Branch ) ซึ่งอาจารย์ยอด บุรี ได้ไปศึกษามาจากประเทศอังกฤษและเป็นผู้นำมาเผยแพร่ ช่วยทำให้การลีลาศซึ่งศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนาเป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
     ในปี พ.ศ.2491 มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันลีลาศสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ อุไร โทณวณิก กวี กรโกวิท จำลอง มาณยมณฑล ปัตตานะ เหมะสุจิ และ นายแพทย์ประสบ วรมิศร์ ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยขึ้น โดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ อนุญาตให้จัดตั้งได้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2491 มีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติด้วยประเทศหนึ่ง
    หลังจากนั้นการลีลาศในประเทศไทยก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มมาก
ขึ้น มีการจัดแข่งขันลีลาศมากขึ้น ประชาชนสนใจเรียนลีลาศกันมากขึ้น มีการจัดตั้งสมาคมครูลีลาศ ขึ้นสำหรับเปิดสอนลีลาศ และยังได้จัดส่งนักลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศและจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้โรงเรียนสอนลีลาศต่างๆ อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผนทำให้การลีลาศมรมาตรฐานยิ่งขึ้น ส่งผลให้การลีลาศในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและนิยมในวงการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนให้ความสนใจ ทำให้มีโรงเรียนหรือสถาบันเปิดสอนลีลาศขึ้นเกือบทุกจังหวัด สำหรับในสถานศึกษาก็ได้มีการจัดวิชาลีลาศเข้าไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2540 ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ ( สาธิต )ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ.ศ.2541

 ประเภทของลีลาศ
การลีลาศตามหลักมาตรฐานสากล หรือการเต้นรำแบบบอลรูม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
 
1. ประเภทบอลรูม หรือโมเดิร์น หรือสแตนดาร์ด (Ballroom or Modern or Standard)
 การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นและท่วงทำนองดนตรีที่เต็มไปด้วยความสุภาพ นุ่มนวล
อ่อนหวาน สง่างาม และเฉีบยขาด ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรงผึ่งผาย ขณะก้าวนิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้น จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 5 จังหวะ คือ
 
1.1 ควิกสเตป (Quick Step)
 
1.2 วอลซ์ (Waltz)
 
1.3 ควิกวอลซ์ หรือเวียนนิสวอลซ์ (Quick Waltz or Viennese Waltz)
 
1.4 สโลว์ฟอกซ์ทรอต (Slow Foxtrot)
 
1.5 แทงโก้ (Tango)
 2. ประเภทละตินอเมริกัน (Latin American) การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียวกว่าประเภทบอลรูม ส่วนใหญ่จะใช้สะโพก เอว ขา และข้อเท้าเป็นส่วน
ใหญ่ ท่วงทำนองดนตรี และจังหวะจะเร้าใจและสนุกสนานร่าเริง จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำนี้มี 5 จังหวะ คือ

2.1 คิวบัน รัมบ้า (Cuban Rumba)
 
2.2 ชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)
 
2.3 แซมบ้า (Samba)
 
2.4 ไจฟว์ (Jive)
 
2.5 พาโซโดเบล้ หรือพาโซโดเบิ้ล (Paso Doble)
 สำหรับการลีลาศในประเทศไทยนั้น ยังมีการเต้นรำที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (Pop and
social Dance) อีกหนึ่งประเภท ซึ่งจังหวะที่นิยมลีลาศกัน ได้แก่ จังหวะบีกิน (Beguine) อเมริกัน รัมบ้า (American Rumba)กัวราช่า (Guaracha) ออฟบีท (Off-Beat) ตะลุง เทมโป้ (Taloong Tempo)และร็อค แอนด์ โรลล์ (Rock and Roll) เป็นต้น