วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฎ กติกาการแข่งขันลีลาศ


กฎ กติกาการแข่งขันลีลาศ

กติกาข้อที่ 1 
องค์กรที่ดำเนินการควบคุมดูแล
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) เป็นองค์กรที่กำกับดูแลการแข่งขันกีฬาลีลาศและนักกีฬาลีลาศ, รวมไปถึงการแข่งขันของสมัครเล่นทุกระดับชั้น, ในแต่ละประเทศตลอดจนถึงประเทศที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และที่เป็นระดับสากล

กติกาข้อที่ 2
การประยุกต์ใช้กติกา
2.1กติกาข้อนี้ให้ประยุกต์ใช้กับการแข่งขันกีฬาลีลาศนานาชาติ ซึ่งจัดโดยองค์กรที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ รวมถึงการแข่งขันประเภท Standard, Latin American, New Vogue, American Style, Rock'n Roll, Old Time, Modern และ Latin Sequence สำหรับกติกาของ Rock'n Roll ให้ใช้กติกาที่กำหนดโดยสมาพันธ์ เวิลด์ ร็อค แอนด์ โรล (World Rock'n Roll Confederation) ซึ่งเป็นสมาชิกร่วมของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
2.2คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับกติกาได้หรือไม่
2.3สำหรับรายการแข่งขันที่เป็นกรณีพิเศษ
2.4ผู้เข้าร่วมในการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะต้องสังกัดในองค์กรที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ

กติกาข้อที่ 3
เงินรางวัล
ในการแข่งขันกีฬาลีลาศของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ เงินรางวัลสามารถที่จะจ่ายให้ได้เท่ากับทางสหพันธ์ฯ จ่ายให้กับการแข่งขันเวิลด์ โอเพ่น (IDSF World Open) แต่ถ้าผู้ที่จัดการแข่งขันกำหนดเงินรางวัลไว้สูงกว่าการแข่งขันเวิล์ด โอเพ่น ของสหพันธ์ฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ก่อน

กติกาข้อที่ 4
การโฆษณา
4.1ในการแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ คู่แข่งขันจะติดป้ายโฆษณาของผู้ให้การสนับสนุนได้ไม่เกิน 2 ราย บนชุดสำหรับแข่งขันและให้มีขนาดไม่เกิน 40 ตารางเซนติเมตร ต่อผู้ให้การสนับสนุน 1 ราย ตำแหน่งที่ติดป้ายจะอยู่ที่บริเวณเอว หน้าอก หรือแขนเสื้อ ป้ายโฆษณาจะติดอยู่ที่ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายก็ได้ หรือฝ่ายหญิง 1 ราย ฝ่ายชาย 1 รายก็ได้
4.2โฆษณาที่จะลงบนหมายเลขประจำตัวของผู้แข่งขันจะต้องมีขนาดไม่เกิน 20% ของขนาดหมายเลขประจำตัวผู้เข้าแข่งขัน

กติกาข้อที่ 5
ระดับของการแข่งขัน
5.1การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Championships)
5.1.1รุ่นผู้ใหญ่(Adult) เยาวชน(Youth) และยุวชน II (Junior II)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนโลกของ IDSF ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะSamba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภทOver Ten Dance ( Standard และ Latin American )
กง) ประเภท Formation ( Standard และ Latin American )
ตามกติกาข้อที่ 14 ข้อที่ 2-13 ให้ใช้กับรุ่นผู้ใหญ่เท่านั้น
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค)จำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์มีสิทธิ์ส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 2 คู่

การแข่งขัน Ten Dance ชิงแชมป์เปี้ยนโลก สมาคมต่าง ๆ สามารถส่งคู่เข้าแข่งขันได้ 1 คู่

การแข่งขัน Formation ชิงแชมป์เปี้ยนโลก แต่ละสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ จะถูกเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันรวม 2 ทีมในแต่ละรายการ
ง)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ ให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.1.2รุ่นอาวุโส (Senior)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกรุ่นอาวุโสของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะ Waltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค)การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ มีสิทธิส่งผู้เข้าแข่งขันได้ 2 คู่
ง)การจ่ายค่าตอบแทน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะรับผิดชอบจ่ายค่าที่พักให้แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 1 คืนแต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนค่าใช้จ่ายของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ตัดสิน ให้เป็นไปตามกฏข้อที่ 8
จ)เกณฑ์อายุของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันรุ่นอาวุโสนานาชาติ อย่างน้อยทั้งคู่จะต้องมีอายุครบ 35 ปีบริบูรณ์ ในปีที่มีการแข่งขัน
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันรุ่นอาวุโสนานาชาติ อย่างน้อยทั้งคู่จะต้องมีอายุครบ 35 ปีบริบูรณ์ ในปีที่มีการแข่งขัน
5.2การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนระดับภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF Continental Championships)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนระดับภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American),
ตามกฏข้อที่ 14, ข้อที่ 2-13
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่มีที่ตั้งตามทวีปต่างๆ ทั้งนี้ในระบบทางการกีฬาให้ถือว่าประเทศอิสราเอลจัดอยู่ในกลุ่มทวีปยุโรป
ค)การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ทุกๆสมาชิกของสหพันธ์ฯ มีสิทธิ์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 2 คู่
การแข่งขัน Ten Dance ชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นทวีปของสหพันธ์ฯ กำหนดให้แต่ละสมาคมส่งคู่เข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 1 คู่ เท่านั้น
การแข่งขันประเภท Formation ชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์ฯ สมาชิกของสหพันธ์ฯ จะถูกเชิญเข้าร่วมการแข่งขันสมาคมละ 2 ทีมในแต่ละรายการ
ง)การจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.3การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นอนุทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF Sub-Continental Championships)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นอนุทวีปยุโรป มีดังนี้
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ อย่างน้อย 4 สมาคม
ค)การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่ได้รับเชิญแต่ละสมาคม มีสิทธิ์ที่จะส่งตัวแทนเข้าร่วมในการแข่งขันสมาคมละ 2 คู่ ผู้จัดการแข่งขันอาจเชิญ 1 คู่ จากประเทศที่เข้าร่วม
ง)การจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.4การแข่งขันสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ(IDSF World Ranking Tournaments)
การแข่งขันสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับโลกมี 4 ประเภทด้วยกัน
ก)การแข่งขันซุปเปอร์เวิลด์คัพของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF Super World Cup)
ข)การแข่งขันเวิลด์โอเพ่นของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Cup)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะจัดการแข่งขันเวิลด์โอเพ่นในประเภท Standard และ Latin Americanโดยจะมีเงินรางวัลและการสะสมคะแนนในการจัดอันดับโลกโดยคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์
ค)การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล โอเพ่นของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF International Open)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะจัดการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลโอเพ่นในประเภท Standard และLatin American โดยมีคะแนนสะสมซึ่งคำนวนโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดอันดับโลกประกอบกับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ง)การแข่งขัน ไอ ดี เอส เอฟ โอเพ่น (IDSF Open)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะจัดการแข่งขัน ไอ ดี เอส เอฟ โอเพ่น (IDSF Open) ในประเภทStandard และLatin American โดยมีคะแนนสะสมซึ่งคำนวณโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการจัดอันดับโลกประกอบกับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
อนึ่ง ในรายละเอียดของระเบียบการแข่งขันที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะแจ้งให้ทราบเป็นครั้งๆ ไป
5.5การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น (International Invitation Competitions)
ก)คำจำกัดความของการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลอินวิเทชั่น
นอกจากการแข่งขันประเภททีมแมช และการแข่งขันประเภทแปรขบวนหมู่ ให้เปรียบเสมือนเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ ซึ่งต้องมีคู่เข้าร่วมแข่งขันอย่างน้อย 4 ประเทศ
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญเฉพาะสมาชิกของสหพันธ์ฯ เข้าร่วมในการแข่งขันเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ค)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนของผู้เข้าร่วมการแข่งขันให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
5.6การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น สำหรับ ฟอร์เมชั่น - ทีม(International Invitation Competitions for Formation - Teams)
ก)คำจำกัดความของการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลอินวิเทชั่นสำหรับฟอร์เมชั่น - ทีม
การแข่งขันนี้อาจใช้ชื่อว่า "การแข่งขันฟอร์เมชั่นนานาชาติ" ถ้ามี ฟอร์เมชั่น - ทีมส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันไม่น้อยกว่า 4 ประเทศ
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญเฉพาะสมาชิกของสหพันธ์ฯ เข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ค)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การชดเชยค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสมาคม ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
5.7การแข่งขันเวิลด์คัพของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Cups)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันเวิลด์คัพส์ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค)การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน:
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติที่ได้รับเชิญสามารถส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันได้เพียง 1 คู่
ง)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทน ให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.8การแข่งขันชิงถ้วยของภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF Continental Cups)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันชิงถ้วยภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American), ทั้งนี้ให้ดูกติกาข้อที่ 14 ข้อย่อยที่ 2 - 13 ประกอบ
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่มีที่ตั้งตามทวีปต่างๆ ทั้งนี้ในระบบทางการกีฬาให้ถือว่าประเทศอิสราเอลจัดอยู่ในกลุ่มทวีปยุโรป
ค)การกำหนดจำนวนคู่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ที่ได้รับเชิญสามารถส่งเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 1 คู่ / 1 ทีม - ฟอร์เมชั่น
ง)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.9การแข่งขันทีมแมชส์นานาชาติ (International Team Matches)
ก)ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันทีมแมชส์นานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
ข)การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
การแข่งขันทีมแมชส์นานาชาติ เป็นการจัดการแข่งขันที่ตกลงกันเอง ระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ โดยจัดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้ง ในประเทศและระหว่างสมาชิกของสหพันธ์เดียวกัน
ค)การกำหนดจำนวนคู่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ( คำจำกัดความของคำว่า "ทีม" )
ในแต่ละทีมต้องมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 4 คู่ คัดเลือกจากการจัดอันดับคะแนนสะสมของแต่ละประเทศ และต้องไม่มีการเปลี่ยนคู่ในระหว่างที่มีการแข่งขัน
ง)การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทน ให้ตกลงกันเองโดยอิสระระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่เกี่ยวข้อง
5.10การแข่งขันประเภทโอเพ่น (Open Competitions)
เป็นการแข่งขันที่เปิดให้เข้าร่วมเฉพาะคู่แข่งขันของสมาคม ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติเท่านั้น คู่แข่งขันที่มาจากประเทศหรือสมาคมใดที่มิได้อยู่ในเครือของสหพันธ์ฯ หากจะเข้าร่วมทำการแข่งขันต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ก่อน
5.11ระยะเวลาที่อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันและอัตราความเร็วของจังหวะดนตรี
ในทุกรอบของการแข่งขัน ระยะเวลาของดนตรีที่ใช้สำหรับจังหวะจังหวะWaltz , Tango , Slow Foxtrot , Quickstep , Samba , Cha Cha Cha , Rumba และ Paso Doble จะต้องมีอย่างน้อย 1 นาทีครึ่ง สำหรับในจังหวะ Viennese Waltz และ Jive จะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 นาที และไม่เกินหนึ่งนาทีครึ่ง, ประธานผู้ตัดสินอาจให้ระยเวลาของดนตรีเพิ่มขึ้นตามความวินิจฉัยของเขา/หล่อน เพื่อความจำเป็นสำหรับการตัดสินที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในจังหวะของการแข่งขันในแต่ละรายการ
อัตราความเร็วของจังหวะดนตรีในแต่ละรูปแบบของการลีลาศมีดังนี้
Waltz:28-30 บาร์ ต่อ นาที
Tango:31-33 บาร์ ต่อ นาที
Viennese Waltz:58-60 บาร์ ต่อ นาที
Slow Foxtrot:28-30 บาร์ ต่อ นาที
Quickstep:50-52 บาร์ ต่อ นาที
Samba:50-52 บาร์ ต่อ นาที
Cha Cha Cha:30-32 บาร์ ต่อ นาที
Rumba:25-27 บาร์ ต่อ นาที
Paso Doble:60-62 บาร์ ต่อ นาที
Jive:42-44 บาร์ ต่อ นาที
ประเภทของดนตรี
ในทุกรายการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ดนตรีที่ใช้จะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวะที่ใช้ในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้ดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทดิสโก้ ในการลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน
5.12กฏระเบียบที่เข้มงวด
1.ในการแข่งขันทุกรายการที่ได้รับการรับรองโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติภายใต้กติกา ข้อที่ 5 มีกฎระเบียบที่เข็มงวดอยู่เพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ระเบียบการแต่งกายของนักลีลาศที่อยู่ในทุกเกณฑ์อายุของรุ่นเด็ก (Juveniles)
กฎระเบียบที่เข้มงวดใดๆ ที่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งขึ้นโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบการที่มีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ เมื่อได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยทั่วถึงให้สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติได้ทราบล่วงหน้า หลังจากที่ประกาศไปแล้ว 12 เดือน
2.กฎระเบียบที่เข็มงวดจะต้องถูกสังเกตเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยหนึ่งคน
ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากชาติของสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และต้องได้รับการยืนยันจากสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
3.ผู้ทรงคุณวุฒิร้องเรียนไปถึงประธานกรรมการ
ในข้อที่ว่ามีการทำผิดกฏระเบียบขึ้นในรอบแรกของการแข่งขัน คู่แข่งขันจะได้รับคำเตือนจากประธานกรรมการ หากมีการทำผิดกฏระเบียบซ้ำขึ้นอีกในรอบถัดไป หรือถึงรอบสุดท้าย คู่แข่งขันจะถูกประธานกรรมการตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน

กติกาข้อที่ 6
สิทธิในการจัดการแข่งขัน
6.1คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีสิทธิอันชอบธรรมในการจัดการแข่งขันตามกติกา ข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-8 และมีสิทธิในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ( ดูกฏระเบียบว่าด้วยการเงิน )
การแข่งขันเหล่านี้ ยกเว้นการแข่งขันที่อยู่ภายใต้กติกาข้อ 5 ข้อย่อยที่ 5 และ 6 จะต้องมีจดหมายเวียนล่วงหน้าไปยังเหล่าสมาชิก ในกรณีที่เป็นพิเศษ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีอำนาจที่จะจัดการแข่งขัน โดยออกคำสั่งโดยตรงให้กับเมืองหรือประเทศที่เป็นสมาชิกฯ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
6.2การจัดการแข่งขันตามกฏกติกาข้อ 5 ย่อหน้าที่ 5 ต้องมีการรับรองจากสหพันธ์กีฬาลีลาศและต้องเสียค่าลงทะเบียน 20,00. CHF ซึ่งองค์กรที่จัดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกขององค์กรด้วย

กติกาข้อที่ 7
การเชิญเข้าร่วมแข่งขัน
การเชิญเข้าร่วมแข่งขัน ในการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น (International Invitation Competitions)จะต้องดำเนินการขึ้นระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิก การเชิญต้องระบุวันที่ ที่ได้ลงในทะเบียนการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ

กติกาข้อที่ 8
การชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
การชดเชยค่าใช้จ่ายขั้นต่ำต่างๆ ให้กับคู่แข่งขัน ประธานและกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันครอบคลุมไปถึง กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 , 7 และ 8 ให้เป็นสิทธิ์ขาดของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ สมาชิกจะต้องระบุจำนวนเงินล่วงหน้า

กติกาข้อที่ 9
การใช้สารต้องห้าม
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีกฎข้อห้ามมิให้มีการใช้สารต้องห้าม ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบการควบคุมห้ามใช้สารต้องห้าม

กติกาข้อที่ 10
วิธีการสำหรับการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่าง ๆ
10.1ประธานกรรมการผู้ตัดสิน ( ที่ไม่ต้องลงคะแนน ) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ เป็นผู้ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแลการแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ ในรายการแข่งขันระดับนานาชาติใดๆ ที่สหพันธ์ฯ ไม่ได้มีการแต่งตั้งประธานผู้ตัดสิน - ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานผู้ตัดสิน ( ที่ไม่ต้องลงคะแนน ) เอาเอง
10.2กรรมการผู้ตัดสิน
ในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a-c และ 7 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภททีมแมช ( Team Matches )
10.3สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
10.4กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5, ข้อย่อยที่ 1-4 a+b , 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น